การจัดการศึกษา มุ่งเน้นให้มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่เข้มข้นนำทางสู่การปฏิบัติจริง ในรูปแบบ Skill-based training มีการนำระบบบริหารจัดการเรียนรู้ มาใช้จัดการเรียนการสอน (Learning Management System) ร่วมกับ Online Meeting program รวมทั้งภาคปฏิบัติจัดกิจกรรมแบบ On-site ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เพื่อลงมือปฏิบัติจริงอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนากลุ่มเป้าหมายสู่การเป็นกำลังคน(กำลังครู)ที่มีสมรรถนะขั้นสูง หลักสูตรมีโครงสร้างกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 โมดูล ดังนี้
ชื่อภาษาไทย : ประกาศนียบัตรนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน
ชื่อภาษาอังกฤษ : Certificate Program in Digital Innovation for Instruction
- สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา ม.ราชภัฏสุรินทร์ (ระดับบัณฑิตศึกษา)
- สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุรินทร์
- สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษาสุรินทร์
- บริษัท/องค์กรเอกชนด้านเทคโนโลยีการสอน
เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรทางการศึกษา
- ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล
- ด้านทักษะการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ
- ด้านคุณลักษณะและเจตคติในการเป็นนักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลและนวัตกรดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน
- จำนวนนักศึกษาต่อรุ่น 40 คน จำนวน 1 รุ่นต่อปี
- ระยะเวลาในการจัดการศึกษา รุ่นที่ 1 เดือนพฤษภาคม–กันยายน 2565 (รุ่น 2 ช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม 2566)
- จำนวนชั่วโมงในการดำเนินการสำหรับหลักสูตร 10 หน่วยกิต ทฤษฎี 4 หน่วยกิต (60ชม.) , ปฏิบัติ 6 หน่วยกิต (270ชม.) รวมทั้งหมด 330 ชม.
- กลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการศึกษา 1)ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะด้านนวัตกรรมดิจิทัล 2)ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะด้านนวัตกรรมดิจิทัลที่แตกต่างไปจากเดิม
หลักสูตรได้คัดเลือกผู้มีคุณวุฒิและประสบการณ์สูงด้านนวัตกรรมดิจิทัลมาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมาร่วมเป็นอาจารย์พิเศษในโมดูลและหน่วยการเรียนย่อย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย/สาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและแอนิเมชั่น สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา
โครงสร้างเนื้อหา
นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการจัดเรียนการสอน (ทฤษฎี 8 ชม.)
เทคโนโลยีดิจิทัลและการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้, A.I. & VR, การบูรณาการเทคโนโลยีสู่การสอน, Blended Learning & HyFlex Learning, วีดีโอแบบปฏิสัมพันธ์ในการจัดการเรียนการสอน, LMS, Gamification & Learning Analytic tools in LMS (ทฤษฎี 22 ปฏิบัติ 42 รวม 64ชม.)
การวิเคราะห์เนื้อหาและยุทธวิธีการสอน, การออกแบบนวัตกรรมดิจิทัล, การพัฒนาดิจิทัลมัลติมีเดีย, การพัฒนาและทดลองใช้นวัตกรรมดิจิทัล, การประเมินผลนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน (ทฤษฎี 30 ปฏิบัติ 60 รวม 90ชม.)
ยุทธวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล, ฝึกปฏิบัติการใช้นวัตกรรมดิจิทัลที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน (168 ชม.)
กระบวนการพัฒนาสมรรถนะในแบบ Hybrid Learning
เรียน วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.30-16.30น. เรียนในห้องเรียน, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และ เรียนออนไลน์ผ่านระบบ LMS ร่วมกับ Meeting Application + ปฏิบัติการใช้นวัตกรรมในการสอน (ไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์)
- โมดูล 1 เรียน+ปฏิบัติการ Online (1 วัน)
- โมดูล 2 เรียน+ปฏิบัติการ Online สลับกลุ่มเข้า Onsite (8 วัน)
- โมดูล 3 เรียน+ปฏิบัติการ Onsite + เสริม Online (11 วัน)
- โมดูล 4 ปฏิบัติการใช้นวัตกรรม > [Implement] + [Reflection] + [Edit Update] (21 วัน)
ระบบสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะ
- พื้นที่สร้างและจัดการรายวิชาใน Server ระบบ LMS ของหลักสูตร DINI
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ห้องปฏิบัติการ Smart Classroom, ห้องปฏิบัติการสอนออนไลน์
- ระบบ LMS ที่ใช้ในบริหารจัดการการเรียนรู้ https://ablms.srru.ac.th/di ระบบ LMS ที่ใช้ในการปฏิบัติการของผู้เรียน https://dini.srru.ac.th
- ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนอื่น ๆ Microsoft Teams, Zoom, Google Meet
ผู้เข้ารับการพัฒนาสมรรถนะจะได้รับทักษะและประสบการณ์จริงจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติการให้มีการไต่ระดับทักษะ (Level up)ซึ่งผสานอยู่ในแต่ละชุดโมดูลที่แยกชุดสมรรถนะกันอย่างอิสระ
- ได้รับการยกระดับสมรรถนะสู่สมรรถนะขั้นสูงด้านนวัตกรรมดิจิทัลทางการศึกษา และการสร้างสรรค์นวัตกรรม
- ได้นวัตกรรมจากกระบวนการเรียน ขยายผลสู่การนำไปใช้ในชั้นเรียน ใช้ในจัดการเรียนการสอน รับมือ/เปลี่ยนผ่านการจัดการเรียนการสอนช่วงโควิดและหลังโควิด
- ผลงานนวัตกรรมที่ได้จากกระบวนการเรียน 1)นวัตกรรม(วิธีการ)แผนการสอนเชิงรุก 2)สื่อการสอนที่มีกลไกการเรียนรู้เชิงรุก (สามารถนำไปใช้ส่งประเมิน PA ได้)
- เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถนำเอกสารทรานสคริปและประกาศนียบัตร ไปใช้เป็นหลักฐานลงบันทึกใน ใบ ก.พ.7
- สะสมหน่วยกิตเข้าระบบคลังหน่วยกิต สามารถใช้เทียบโอนความรู้ประสบการณ์ ได้ 10 หน่วยกิต
นักเรียนมีสื่อและนวัตกรรมดิจิทัลทางการศึกษา ใช้ในระหว่างเรียน หลังเรียน และสามารถเข้ามาทบทวน ติดตามข้อมูลกิจกรรมการเรียนของตนเอง การส่งงาน และทบทวนย้อนหลังได้แบบไม่จำกัดเวลา เกิดการกระตุ้นให้ผู้เรียน สนใจใฝ่เรียนรู้มากขึ้นภายใต้สื่อนวัตกรรมที่มีกลไก Gamification
นักเรียน เรียนได้อย่างกระตือรือร้น ส่งผลต่อพฤติกรรมและผลการเรียนดีขึ้น
ได้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลทางการศึกษา เปลี่ยนผ่านสู่ระบบนิเวศการศึกษาแบบใหม่(มหาวิทยาลัย โรงเรียน และหน่วยงานการศึกษา) Hybrid Learning Ecosystem ยกระดับสู่การพัฒนาการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัล
เกิดกระบวนการพัฒนาสมรรถนะกำลังคนสายงานการสอนที่ผสานสู่การปฏิบัติจริงในชั้นเรียน(ที่โรงเรียน) โดยมีเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมดิจิทัลทางการศึกษา ที่คอยให้ความช่วยเหลือ โค้ช ชี้แนะแนวทางตลอดกระบวนการพัฒนา
สิทธิประโยชน์อื่นๆ
- ฟรี..ค่าลงทะเบียนตลอดหลักสูตร ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอาหาร (กรณีมาเรียน Onsite ที่ มหาวิทยาลัย) +สนับสนุนวัสดุคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นในการเรียนออนไลน์
- ผู้เรียนสามารถลาศึกษาต่อ(นอกเวลาราชการได้) ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยภายในประเทศ พ.ศ. 2559
ใบรับรองสมรรถนะ(Certificate) แต่ละโมดูลสามารถนำไปใช้ประกอบการต่ออายุใบประกอบวิชาชีพ และการประเมินประจำปีได้ เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถเทียบโอนความรู้และประสบการณ์เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา ได้ 10 หน่วยกิต (ในกลุ่มวิชาเลือก)
3,547 total views, 23 views today